วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองซึ่งกำลังปกครองประเทศไทย ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร[1] อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตกรรมการบริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) อดีตประธานสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด[2] อดีตประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานคณะกรรมการบริหารกิจการโทรทัศน์กองขาอยู่ในกลุ่มบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เป็นผู้บัญชาการทหารบกระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2557 เขาถูกมองว่าเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ ทั้งเป็นผู้สั่งการการสลายการชุมนุมของ "คนเสื้อแดง" เมื่อเดือนเมษายน 2552 และเมษายน/พฤษภาคม 2553 คนหนึ่ง[3] ภายหลัง เขามุ่งบรรเทาบทบาทของตน โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในความขัดแย้งนองเลือดนั้น[4] และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพันตำรวจโททักษิณ[5] ซึ่งชนะการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554ทัพบก 
ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 และเกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ พลเอกประยุทธ์อ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[6] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหารต่อรัฐบาลและควบคุมประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินับแต่นั้น[7] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับพลเอกประยุทธ์วางแผนโค่นพันตำรวจโททักษิณตั้งแต่ปี 2553[8] ซึ่งพลเอกประยุทธ์ปฏิเสธข่าวนี้ ต่อมา เขาออกรัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งให้อำนาจครอบคลุมแก่คณะผู้ก่อการ[9] และนิรโทษกรรมคณะฯ สำหรับรัฐประหาร วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูกเลือกมา และส่วนใหญ่เป็นนายทหาร[10]

ประวัติ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดวันที่ 21 มีนาคม 2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของ พันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ กับเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดารับราชการครู[11] มีชื่อเล่นว่า "ตู่" สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กตู่" เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน[12] ได้แก่ประคัลภ์ จันทร์โอชา พลอากาศตรีหญิง ประกายเพชร จันทร์โอชา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ และพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นายกรัฐมนตรีในคอลัมน์ "เรียนดี" นิตยสารชัยพฤกษ์ เมื่อปี 2512 เขียนว่า ประยุทธ์มีอุปนิสัยที่เงียบขรึม ด้วยความที่เป็นพี่ชายคนโตจึงต้องทำตัวเป็นพี่ที่ดี ในวัยเยาว์เขาเป็นคนเรียนเก่งมีความถนัดและความชอบในวิชาคณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ จากการสนับสนุนของบิดามารดา[12]
ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีธิดาฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญา และนิฏฐา นักดนตรี ซึ่งทั้งคู่เคยออกอัลบั้ม หลังรวมตัวกันตั้งวงดนตรีหญิงทริโอ ร่วมกับ นิค-นิติญา อ่ำสกุล นักร้องนำ ในนามวง BADZ สังกัด จีโนม เรคคอร์ด ในสังกัดอาร์เอส[13][14]

การทำงานและบทบาททางการเมือง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นายกรัฐมนตรีประยุทธ์รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ "ทหารเสือราชีนี" มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิกพรรคพวก "บูรพาพยัคฆ์" ในกองทัพ เช่นเดียวกับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
ในรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่มีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ พลตรีประยุทธ์เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการยึดอำนาจด้วยรับคำสั่งตรงจากพลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 จากนั้นเมื่อพลโทอนุพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนชั้นยศเป็น "พลเอก" พลตรีประยุทธ์ก็ได้เลื่อนชั้นยศขึ้นเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นายกรัฐมนตรี
พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2551 ถึง 14 กันยายน 2551 และรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในสมัย รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2553[15]ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง 22 ธันวาคม 2554 เขาได้ลงนามในคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 141/2553 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เรื่องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ออกคำสั่งยึด หรือ อายัด สินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก และเขาเป็นหนึ่งในคณะดำเนินคดีระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2554[16]
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นายกรัฐมนตรี
ภายหลังเปลี่ยนรัฐบาลโดยมี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นบุคคลที่หลายฝ่ายคาดว่าจะพ้นจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบกโดยอาจเปลี่ยนโยกย้าย เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแทน เนื่องจากเป็นผู้อยู่ตรงข้ามฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลในขณะนั้น[17]แต่ก็ไม่ได้มีการปรับย้ายดังกล่าว จึงนับได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้บัญชาการทหารบกภายใต้การบังคับบัญชาของ นายกรัฐมนตรีถึง 5 ราย ได้แก่ สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ ตัวเขาเอง เป็นผู้บัญชาการทหารบก ภายใต้พรรคการเมืองที่เป็นศัตรูกันทั้ง พรรคประชาธิปัตย์พรรคเพื่อไทย และพรรคพลังประชาชน
บีบีซีเขียนว่า กลุ่มผลประโยชน์ ฮิวแมนไรทส์วอตช์ ว่า เขาขัดขวางการสืบสวนวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งมีผู้เสียชีวิตในปี 2553[18] เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เขาขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงให้ "คนดี" ในการเลือกตั้งปีนั้น ซึ่งถูกตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นการตียิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย[18] และระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขาเสนอ "สภาประชาชน"[18]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น